top of page
  • muutang

Adverb กิริยาวิเศษณ์

Adverb หรือ กริยาวิเศษณ์ คือคำที่ขยายคำกริยา และคำคุณศัพท์ ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับคำวิเศษณ์ในภาษาไทย แต่ในภาษาอังกฤษนั้น คำวิเศษณ์จะเป็น กริยาวิเศษณ์เท่านั้น

ไม่มีการแยกย่อยได้เยอะแยะเหมือนภาษาไทยบ้านเราเลยรับรองว่าเรียนได้ง่ายๆ จำได้นาน ไม่ยากค่ะ


โดยปกติแล้วคำกริยาวิเศษณ์ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. Simple Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์ทั่วไป 2. Interrogative Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์คำถาม 3. Relative(Conjunction) Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์เชื่อมประโยค Simple Adverb คือ กริยาวิเศษณ์ที่ใช้ขยายกริยา ขยายรายละเอียด

หน้าที่ของกริยาวิเศษณ์คืออะไร?


1. ขยายคำกริยา

บอกให้รู้ว่า ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร ทำบ่อยแค่ไหน เช่น

  • He came here yesterday. เขา มา ที่นี่ เมื่อวานนี้ here เป็น adverb บอกให้รู้ว่า มา ที่ไหน yesterday เป็น adverb บอกให้รู้ว่า มา เมื่อไหร่

  • He walks slowly. เขา เดิน อย่างช้าๆ slowly เป็น adverb บอกให้รู้ว่า เดิน อย่างไร

  • He always walk to school. เขา เดิน ไปโรงเรียน เสมอ always เป็น adverb บอกให้รู้ว่า เดิน บ่อยแค่ไหน

2. ขยายคำคุณศัพท์ และขยายกริยาวิเศษณ์เอง

บอกให้รู้ว่าอยู่ใน ระดับไหน หรือเน้นย้ำว่าแค่ไหน เช่น

  • The fire is very hot. ไฟ ร้อน มาก hot เแปลว่า ร้อน เป็นคำคุณศัพท์ขยาย fire ส่วน very เป็น Adverb ขยายคำว่า hot บอกให้รู้ว่า ร้อนแค่ไหน

  • I like it very much. ผม ชอบ มัน มาก มาก much เแปลว่า มาก เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ส่วน very ก็เป็น Adverb ขยายคำว่า much บอกให้รู้ว่า มากแค่ไหน


ประเภทของกิริยาวิเศษณ์

Simple adverb แบ่งเป็นหมวดเล็ก ๆ ได้ 6 หมวด คือ

1. Adverb of Time กริยาวิเศษณ์บอกเวลาใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นเมื่อไหร หรือ เกิดขึ้นหรือยัง”

2. Adverb of Place กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ ใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นที่ไหน”

3. Adverb of Frequency คือกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ห่าง ใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน”

4. Adverb of Manner คือกริยาวิเศษณ์บอกอาการ ใช้บอกการกระทำว่า “เกิดขึ้นอย่างไร”

5. Adverb of Quantity คือ กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากน้อย

6. Adverb of Affirmation or Negation คือ กริยาวิเศษณ์บอกการรับหรือปฏิเสธ








ในรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อศึกษาต่อ และ ภาษาอังกฤษจากสื่อ เราจะเรียนการใช้ Adverb เพื่อการเปรียบเทียบนะคะ ในการเปรียบเทียบสิ่งของ คุณลักษณะ และสำนวนการใช้ค่ะ








สำนวนการใช้ as ... as ที่เราควรรู้นะคะ

สรุปว่าเราสามารถใช้ adverb เพื่อทำหน้าที่ขยายส่วนต่างๆ และเปรียบเทียบนะคะ

จำได้ไม่ยาก หากหมั่นนำไปใช้และฝึกฝนบ่อยๆ ค่ะ


หลังจากนร. ได้ศึกษาบทความเรียบร้อยแล้ว ครูแตงขอให้นร. ทำแบบฝึกหัดนะคะ

โดยการเปลี่ยน คำ adjective ในช่องให้เป็น adverb โดยให้มีความหมายสอดคล้องกับประโยคค่ะ





Cr: เนื้อหาเพิ่มเติม และ แบบฝึกหัด

52 views

Recent Posts

See All
bottom of page